ความสำคัญของแบบแผงไฟแรงต่ำ

นอกจาก แบบแผงเมนแรงสูง หม้อแปลงแล้ว ตัวเอกในระบบไฟฟ้าก็เห็นจะเป็นแผงเมนแรงต่ำ (Main Distribution Board Low Voltage) มีระดับแรงดัน 400/230 V หรือ 320/220 V ซึ่งเป็นขุมกำลังของพลังงานไฟฟ้าที่จะจำหน่ายจ่ายแจกกระแส ไฟฟ้าไปตามส่วนต่างๆ ของโครงการในแบบที่ใช้ในการประมูลงานโครงการ ก็อีกเช่นกันจะไม่มีรายละเอียดมากนัก มีระบุแต่เพียงคร่าวๆที่เป็นข้อกำหนด หรือมีแต่ single line diagram ให้ทราบความต้องการเท่านั้น ผู้ที่จะทำการติดตั้งหรือผู้รับเหมางานระบบไฟฟ้า จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบทำ shop drawing ที่แสดงรายละเอียดต่างๆ ทั้งทางด้านไฟฟ้า และฟิสิกส์ ให้ครบถ้วนถูกต้องได้มาตรฐานสากล ที่มักใช้อ้างอิงกัน เช่น NEC, NFPA, IEC หรือ B.S. ซึ่งขณะทำ shop drawing จะต้องคำนึงถึงรายละเอียดคร่าวๆดังต่อไปนี้
1. ต้องทราบ ขนาดจำนวนชนิดของอุปกรณ์พวก ACB (Air Circuit Breaker) MCB (Mould Case Circuit Breaker) ซึ่งจะต้องได้คุณสมบัติทางไฟฟ้าตามข้อกำหนด (Specification) ของโครงการ และ ต้องทราบ Dimension ของอุปกรณ์อย่างละเอียด เพื่อการจัดรูปแบบของตู้
2. ต้องทราบ ชนิด จำนวนและขนาดของเครื่องวัด เครื่องป้องกันส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับ Voltmeter, Ammeter, Kw Meter, P.F Meter, Overcurrent, Under voltage, Ground Fault Relay, C.T, P.T บางครั้งอาจจะมี Power Reverse Relay เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยก็ได้
3. ต้องทราบรายละเอียด ขนาด จำนวนของ Copper Bus จะใช้แบบเป็น Bare Copper Bus หรือ Insulated Copper Bus ตลอดจนอุปกรณ์ประกอบของ Bus Support ชนิดต่างๆ ทั้งแนวตั้ง แนวนอน และชนิดทะลุผ่านตู้ ซึ่งทั้งหมด จะต้องเลือกให้ถูกต้องตาม Voltage Rating ความทนต่อแรงระเบิดขณะเกิด Fault
4.

5.




1) ความสวยงาม
2) ราคา
3) Working Space
4) Safety Space
5) ความแข็งแรงทนแรงระเบิดจาก Fault Current ได้
6) ได้ตามมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับ
7) ง่ายต่อการดูแล ซ่อมบำรุงและง่ายต่อการขนย้ายและติดตั้ง
8) ผ่านการทดสอบ Voltage Test และ Type Test

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *