Busduct, Main-Feeder, Sub-Feeder

สิ่งที่ใช้ส่งพลังงานไฟฟ้าจากตู้ MDB ไปยัง Load ของอาคาร โดยทั่วไปในแบบระบบไฟฟ้าที่เราได้รับมาจากการประมูลงานจากโครงการในตอนแรก จะมีแต่แบบ Single Line Diagram ไม่มีแบบที่จะทำการติดตั้งจริง จึงมีความจำเป็นต้องรวบรวม Shop Drawing รายละเอียดการติดตั้งใหม่ให้ตรงตามสภาพความเป็นจริง การจัดทำ Shop Drawing ของ Main/Sub-Feeder ไม่ว่าจะใช้ Busduct, Wireway, Cable Ladder และ Conduit ก็จะต้องจัดทำไปพร้อมกัน โดยต้องวางแนวตั้งแต่ห้อง Electrical Plant Room จาก MDB ไปยังตำแหน่ง Sub-Distribution Board, Panelboard, Motor Control Center, Lift, Fire Pump, Water Pump ตามที่ปรากฎอยู่ใน Single Line การจัดทำต้องจัดเตรียมและดำเนินการพอสังเขปดังนี้
1. ถ้าเป็น Busduct ต้องทราบขนาด Rating ของ Busduct ว่ากี่ Amp เช่น 2,000 A, 3 , 4W, Full หรือ Half Neutral with Ground Bar ด้วยหรือเปล่า เป็น Busduct ชนิด Copper หรือ Aluminium เพื่อทราบขนาดความกว้าง, ยาว, จำนวนท่อนตรง, Fitting, ส่วนโค้ง และ Offset จึงจัดเลือกวางแนวว่าจะผ่าน บริเวณใดที่สะดวก ไม่ติดขัด ต้องตรวจสอบกับแบบของระบบอื่นๆ และแบบโครงสร้าง การติดตั้งให้ได้แนวระดับเดียวกัน สามารถผ่านเข้าสู่ช่อง Shaft ไฟฟ้าได้ ซึ่งส่วนใหญ่ ก็จะจัดเตรียมไว้อยู่แล้ว
2. ถ้าเป็น Wire way, Cable Tray ก็จะต้องตรวจสอบหาแนวการติดตั้ง ในลักษณะคล้ายคลึงกับ Busduct โดยจัดเลือกการวางแนวตั้งแต่ต้นจนจบ ให้ผ่านในบริเวณที่ไม่มีอะไรกีดขวาง ตรวจสอบระดับในแนวนอนและแนวดิ่งให้เรียบร้อย ซึ่งบางครั้งอาจจะวิ่งเข้า Electrical Shaft หรือวิ่งเข้าแผง Sub-Distribution Board เลยก็ได้
3. ถ้าเป็นท่อ Conduit ก็จะต้องตรวจสอบในลักษณะเช่นเดียวกับในข้อ 2
ส่วนใหญ่ทั้งสามชนิดดังกล่าว บางครั้งจะต้องนำมาติดตั้งรวมอยู่ในแนวเดียวกัน จึงต้องทำการจัดระเบียบของการติดตั้งว่าจะเรียงกันอย่างไร จัดวางอะไรเป็นหลักตรวจสอบจุดที่ Main Feeder และ Sub-Feeder ดังกล่าวจะต่อเข้าก่อนหลัง Feeder ไหน จะต้องดึง Load ก่อน ก็ควรจะไว้นอกสุด แล้วเรียงลำดับไปตาม Load ที่จะคชต่อก่อนหลังเพื่อป้องกันไม่ให้ Feeder ถ่ายข้ามไปข้ามมา แม้ในการเดินใน Electrical Shaft เองก็จะต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน มิฉะนั้นการต่อเข้า Sub-Distribution Board และ Panelboard ก็จะทำได้ยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดระบบจัดแนว ให้มีระเบียบแบบแผนว่าจะวางแนวกันอย่างไร Feeder ไหนจะเรียงอยู่ก่อนอยู่หลัง ซึ่งจะต้องใช้ความสนใจตั้งใตทำจริงจัง โดยการจัดเขียน Shop ออกมาให้ได้ Scale กับทุกส่วนของอาคารของ วัสดุที่นำมาติดตั้งจึงจะมองภาพของจริงออกมาได้ ในบางครั้งจะต้องทำรูปติดทั้ง 3 ด้านออกมาดูพร้อมกับรูป Isometric ก็จะต้องทำเพื่อความกระจ่าง จากแนวความคิดดังกล่าวแล้วข้างต้น เมื่อได้แบบ Shop แล้ว ยังจะต้องนำไปตรวจสอบกับผู้ผลิตวัสดุดังกล่าว ทำการตรวจสอบเพื่อกำหนดจำนวนที่ได้มาตรฐานการผลิตของโรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Busduct จะต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งว่าได้จัดทำขั้นตอนครบถ้วน ผู้ผลิตได้ตรวจสอบจากโรงงาน และ confirm แบบกลับมาให้เรียบร้อยว่าจะใช้ผลิตตามแบบที่ตรวจสอบแล้ว หัวใจของแบบ Shop Drawing ของ Busduct อยู่ที่แบบ Architec ต้องเป็นแบบที่ใช้ก่อสร้างจริง Scale ถูกต้องไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงใหม่อีก ถ้าไม่ตรวจสอบเรื่องนี้ก่อนส่งแบบให้โรงงานผู้ผลิต ไปทำแบบ Shop Drawing เพื่อการผลิต Busduct ที่จัดส่งมาจะผิดไปหมด ทำให้เกิดความยุ่งยากอย่างมาก เพราะเราจะมาตัดต่อเองแบบ Cable Tray, Wireway หรือ Conduit ไม่ได้เลย

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *