วิธีการตรวจทดสอบหม้อน้ำ

หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจทดสอบหม้อน้ำที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน

๑.การเตรียมการก่อนการตรวจทดสอบหม้อน้ำ
ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดเตรียมหม้อน้ำและบุคลากร ก่อนการตรวจทดสอบหม้อน้ำ
๑.๑ หยุดการใช้หม้อน้ำล่วงหน้าก่อนการตรวจทดสอบโดยการหยุดการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง (ปิด Burner กรณีหม้อน้ำใช้เชื้อเพลิงเหลว หากใช้เชื้อเพลิงแข็ง เช่น ฟืน ขี้เลื่อย แกลบ ถ่านหิน ฯลฯ ให้นำเชื้อเพลิงพร้อมขี้เถ้าออกจากเตาให้หมด)
๑.๒ ระบายไอน้ำออกจากหม้อน้ำให้หมด และลดอุณหภูมิภายในหม้อน้ำให้มีอุณหภูมิไม่เกิน 49 C แต่ว่า การลดอุณหภูมิหม้อน้ำ ไม่ควรถ่ายน้ำร้อนทั้งหมดทิ้งแล้วเติมน้ำเย็นทันที
๑.๓ เปิดประตูเตาหรือฝาด้านหน้า-หลัง หรือช่องเปิดต่างๆของหม้อน้ำ เพื่อให้เห็นผิวด้านสัมผัสไฟและทำความสะอาดผิวด้านสัมผัสไฟทั้งหมด ให้ปราศจากเขม่าหรือขี้เถ้า
๑.๔ ระบายน้ำออกจากหม้อน้ำให้หมด เปิดช่องคนลอด ช่องมือลอด ช่องทำความสะอาดภายในหม้อน้ำ
๑.๕ จัดเตรียมประเก็นของส่วนต่างๆ เช่น ช่องคนลอด ช่องมือลอด ฝา หน้า-หลัง และหน้าแปลนต่างๆ เพื่อเตรียมเปลี่ยนใหม่ภายหลังจากการเปิดตรวจสอบหรือทำความสะอาด
๑.๖ จัดให้ผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำ และผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่อำนวยความสะดวกหรือให้ข้อมูลแก่วิศวกรและรับทราบคำแนะนำจากวิศวกรในวันตรวจทดสอบ
๑.๗ กรณีที่มีการใช้หม้อน้ำ ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป โดยมีระบบท่อร่วมกันให้ตัดแยกระบบท่อไอน้ำของหม้อน้ำ ที่กำลังใช้งานออกจากระบบหม้อน้ำที่จะตรวจทดสอบ
๑.๘ จัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น
๑.๙ ถอดชิ้นส่วนอื่นๆที่จำเป็นต่อการตรวจทดสอบตามคำร้องขอของผู้ที่จะตรวจทดสอบ
๒. ผู้ตรวจทดสอบหม้อน้ำ จะต้องทบทวนประวัติหม้อน้ำ เพื่อประกอบการพิจารณาตรวจทดสอบ การสืบค้น ปัญหาและการวิเคราะห์หาสาเหตุ โดยพิจารณาจากข้อมูลข้อ ๑.๘
๓. ผู้ประกอบกิจการโรงงานและวิศวกรผู้ตรวจทดสอบจะต้องคำนึงถึงอันตรายต่างๆและดำเนินการให้เกิดความปลอดภัยส่วนบุคคลในขณะตรวจสอบหม้อน้ำ ในเรื่องต่อไปนี้
๓.๑ ต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้เพียงพอต่อการใช้งาน และต้องระมัดระวังอันตรายต่างๆในบริเวณทำงานและอันตรายที่อาจจะเกิดจากการตรวจทดสอบ
๓.๒ ต้องจัดการป้องกันเมื่อจะเริ่มให้หม้อน้ำทำงาน โดยการตัดแยกระบบพลังงานเพื่อป้องกันอันตรายจากการจ่ายพลังงานความร้อน พลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานอื่นๆ ที่อาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ตรวจทดสอบในระหว่างการตรวจทดสอบ
๓.๓ ต้องจัดให้มีการระบายอากาศภายในห้องเผาไหม้หม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน หรือบริเวณที่อับอากาศ (Confined Space) อย่างเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ตรวจทดสอบ

ส่วนที่ ๒ การตรวจสอบสภาพภายนอก (External Inspection)
ผู้ตรวจทดสอบต้องดำเนินการดังนี้
๑. ตรวจดูสภาพการติดตั้งหม้อน้ำและระบบท่อ ความถูกต้องตามหลักวิศวกรรม
๒. ตรวจสอบสภาพภายนอก หากพบสิ่งผิดปกติ ให้ถอดฉนวนออกบางส่วน เพื่อตรวจสภาพเปลือกหม้อน้ำ หรือโครงสร้างภายในฉนวน
๓. ตรวจสอบสภาพการรั่วซึมของส่วนต่างๆของหม้อน้ำ
๔. ตรวจสอบสภาพรอยร้าวในส่วนต่างๆของหม้อน้ำ
๕. ตรวจสอบ จำนวน ขนาด การติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัย เพื่อให้มีความสมบูรณ์ตามหลักวิศวกรรม
ส่วนที่ ๓ การตรวจสอบสภาพภายใน (Internal Inspection)
ผู้ตรวจทดสอบต้องดำเนินการดังนี้
๑. ตรวจสอบสภาพของผนังด้านสัมผัสไฟและด้านสัมผัสน้ำ เช่น ผนังเตา ห้องเผาไหม้ (Combustion Chamber), ท่อไฟใหญ่ ท่อไฟเล็ก (Smoke Tube), ผนังด้านหน้า-หลัง (End Plate), ท่อน้ำ (Water Tube), อุปกรณ์อุ่นน้ำ (Economizer), อุปกรณ์อุ่นอากาศ (Air Pre-heater) ของหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน โดยตรวจสอบดังข้อต่อไปนี้
๑.๑ ตรวจสอบการบิดเบี้ยว, การยุบตัวหรือการเสียรูป, การแตกร้าวของรอยเชื่อม, การรั่วซึม และต้องตรวจสอบขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง, ความยาว, ความหนาเพื่อประเมินความแข็งแรงของโครงสร้างที่รับความดัน
๑.๒ ตรวจสอบ การบิดเบี้ยว, การเสียรูปหรือความผิดปกติเนื่องจากความร้อน (Overheat)
๑.๓ ตรวจสอบสภาพการผุกร่อน
๑.๔
๑.๕
๑.๖ ตรวจสอบความหนาและความแข็งแรง
๑.๗ ตรวจสอบสภาพเหล็กยึดโยงต่างๆ
๑.๘ ตรวจสอบการอุดตันของท่อทางเข้าและออกต่างๆ
๒. ตรวจทดสอบความแข็งแรงของโครงสร้างรับความดันของหม้อน้ำ ด้วยการอัดให้น้ำมีแรงดัน (Hydrostatic Test) ในการทดสอบให้ดำเนินการดังนี้







Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *