ระบบ Sprinkler ที่ไม่ได้มาตรฐาน

ลักษณะของปัญหา
เนื่องจากกฎกระทรวงไม่ได้กำหนดรายละเอียดทางด้านเทคนิคของระบบนี้ ที่ผ่านมาจึงพบว่า การติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน เช่นอาคารศูนย์การค้าจัดว่าเป็น Ordinary Hazard ที่ต้องมีหัวสปริงเกอร์ไม่เกิน 13 ตรม. ต่อหัว แต่กลับติดตั้งแบบ Light Hazard โดยมีหัวสปริงเกอร์ 16 ตรม. ต่อหัว หรือติดตั้งห่างจากผนังเกิน 2 เมตร หรือติดตั้งที่ระดับต่ำกว่าเพดานเกิน 30 ซม. ทำให้หัวสปริงเกอร์รับความร้อนได้ช้า หรือใส่ประตูน้ำในระบบท่อ โดยไม่มีระบบดูแลให้อยู่ในตำแหน่งที่เปิด ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องขนาดถังน้ำและเครื่องสูบน้ำดับเพลิง

แนวทางแก้ปัญหา
ถึงแม้ว่าระบบสปริงเกอร์จะเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพในการดับเพลิงได้ดี แต่ก็ต้องมีปริมาณการฉีดน้ำ ลักษณะของการฉีดที่ไม่ติดอุปสรรค ระยะเวลาที่หัวแตกและฉีดน้ำที่รวดเร็วเพื่อให้สามารถดับเพลิงในระยะแรกได้
ในกรณีที่ต้องเพิ่มหัวสปริงเกอร์และท่อน้ำที่ติดตั้งไว้เล็กไป อาจจะทำการคำนวนเพื่อตรวจสอบ (Hydraulic Calculation) และอาจจะใช้วิธีต่อท่อเชื่อม ถึงกันเป็นวงแหวนเพื่อเพิ่มความสามารถในการส่งน้ำได้
หัวสปริงเกอร์ที่ต้องติดตั้งต่ำจากเพดานเนื่องจาก เลี่ยงอุปสรรคจากท่อลมหรือรางไฟฟ้า จะต้องติดตั้งแผ่นรับความร้อนเพื่อช่วยในการแตกของหัวสปริงเกอร์ ประตูน้ำที่ไม่จำเป็นไม่ควรใส่ และเมื่อต้องปิดท่อเพื่อต่อท่อหรือหัวเพิ่ม บริเวณดังกล่าวจะต้องมี เจ้าหน้าที่ดูแลแทนการทำงานของระบบอยู่ตลอดเวลา การปิดระบบควรจะปิดเพียงเวลาสั้นๆ เพื่อเชื่อมท่อเท่านั้น
การทำถังน้ำเพิ่มและการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ถ้าจำเป็นก็ต้องทำ หรือหาแหล่งน้ำข้างเคียงมาเสริม อาคารที่มีลักษณะเป็นกลุ่มอาคารสามารถใช้แหล่งน้ำร่วมกันได้

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *