บันไดหนีไฟ

เป็นที่ทราบกันดีว่า อาคารที่ปลอดภัยนั้นต้องเริ่มจากการที่อาคารนั้น มีโครงสร้างที่ปลอดภัยเสียก่อนและระบบป้องกันอัคคีภัยต่างๆ นั้นเป็นเพียงระบบเสริมความปลอดภัยและช่วยอุดช่องโหว่ในส่วนของโครงสร้างที่อาจจะไม่สมบูรณ์เท่านั้น
หัวใจที่สำคัญมากที่สุดในส่วนของความปลอดภัยของตัวอาคาร ประกอบด้วย
1. การทนไฟของโครงสร้างอาคาร
2. การจัดให้มีพื้นที่ป้องกัน
3. การติดไฟของวัสดุประกอบอาคาร
4. ทางหนีไฟ
5. ระยะปลอดภัย
6. บันไดหนีไฟ
ทั้งนี้ บันไดหนีไฟเป็นเรื่องที่มักพูดถึง ปัญหาของบันไดหนีไฟในอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่ เกิดจากการที่สถาปนิกไม่ได้ให้ความสำคัญ กับการใช้งานของบันไดหนีไฟ ซึ่งต้องใช้งานได้ดีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ส่วนใหญ่จะออกแบบตามที่กฎหมายควบคุม อาคารกำหนดไว้เท่านั้น เป็นการออกแบบโดยการตีความตามกฎหมายโดยไม่ได้พิจารณาจุดประสงค์ของการใช้งานของบันไดหนีไฟ จึงพบว่า มีบันไดหนีไฟและบันไดที่ไม่มีการปิดล้อม บันไดไม่ได้ขนาด การเปิดประตูขวางการหนีไฟ ไม่มีการป้องกันควันเข้าสู่บันได ประตูหนีไฟไม่ได้มาตรฐาน
การเกิดอัคคีภัย หลายๆครั้งที่ผ่านมา พบว่าบันไดกลายเป็นปล่องไฟและเป็นช่องทางให้ควันไฟและความร้อนขึ้นสู่ชั้นต่างๆของอาคารได้อย่างรวดเร็ว จากการสำรวจของกรุงเทพมหานครและเทศบาลในจังหวัดต่างๆพบว่า ยังมีอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่ที่ไม่ปลอดภัยอยู่อีกเป็นจำนวนมากนับพันหลัง และผลการสำรวจพบว่า เกือบทั้งหมดมีบันไดและบันไดหนีไฟที่ไม่ปลอดภัย อาคารเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นอาคารเก่า และสร้างกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (2535) จะบังคับ จึงไม่ได้มาตรฐาน และยากต่อการแก้ไขปรับปรุงให้ปลอดภัย นอกจากนี้การเพิ่มบันไดหนีไฟล้ำออกมานอกอาคารยังอาจจะไปเข้าข่ายการดัดแปลงอาคารอีกด้วย
กรมโยธาธิการได้เห็นความสำคัญในข้อนี้จึงได้ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 47 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2540 กำหนดให้อาคารจะต้องมีบันไดหนีไฟ พร้อมทั้งแนะนำให้ทำการปิดล้อมบันไดและช่องท่อแนวดิ่งต่างๆ

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *