การเลือกใช้ Service Switch, Pad-Lock CB., Safety Switch เมื่อต้องการ การตรวจซ่อมบำรุงรักษา เครื่องจักร

ในกรณีที่อุปกรณ์หลักที่ใช้ไฟฟ้าอยู่ไกลจากแผง Starter เมื่อถึงเวลาที่ต้องทำการซ่อมบำรุงรักษาหรือ ตรวจสอบ และเพื่อมิให้ผู้อื่นที่ไม่ทราบว่า กำลังตรวจซ่อมอยู่ไปเปิดเครื่องจักรให้ทำงาน ที่ Starter จะทำให้เกิดอันตรายกับผู้ที่กำลังตรวจซ่อมได้ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น ผู้ที่จะทำการตรวจซ่อมควรตัดการจ่ายไฟฟ้าที่จะมาจ่ายให้เครื่องจักร

การเลือกใช้อุปกรณ์ที่จะตัดไฟดังกล่าว ที่ควรพิจารณาเลือกคือ
1. Service Switch คือ สวิทซ์ที่ติดตั้งเพื่อ ตัดวงจรควบคุมการทำงานของเครื่องจักร โดยติดตั้งสวิทซ์ดังกล่าวไว้ใกล้กับเครื่องจักร ซึ่งค่าใช้จ่ายในการติดตั้งถูกและง่ายที่สุด แต่พึงระวังว่า ตัวแผง Starter ยังมีไฟรออยู่ หากมีบางคนไม่ทราบว่ามีการซ่อมบำรุงและเปิดหน้าแผงเพื่อกดที่ Contact ของ Magnetic Contactor ก็จะมีไฟฟ้าจ่ายมายังเครื่องจักรได้
2. Pad-Lock CB. คืออุปกรณ์ประกอบของ CB ที่ใช้ Lock CB. ในขณะที่ OFF เพื่อต้องการซ่อมบำรุง และต้องคล้องกุญแจไว้ที่ตัว Pad-Lock นี้ด้วย ซึ่งจะไม่สามารถเปิดฝาตู้ Starter ได้ แต่อุปกรณ์ดังกล่าวมีราคาแพง
3. Safety Switch ติดตั้งในตำแหน่งใกล้ เครื่องจักร ควรเลือกใช้แบบ Non-Fuse Type เพื่อป้องกันเครื่องจักรเสียหาย เพราะหากใช้ Fuse และเกิด Fuse ขาดไปบางตัว จะมีกระแสไฟฟ้าไปยังเครื่องจักรไม่ครบสามเฟส ทำให้เครื่องจักรเสียหายได้ Safety Switch ยังเหมาะกับอุปกรณ์ที่มี Starter แบบ DOL เพราะหากเป็นแบบ Y- delta จะทำให้การใช้งานและซ่อมบำรุงยุ่งยาก และสับสนได้
4. อย่าลืมควรจะติดป้าย “กำลังซ่อมบำรุง” ไว้ทุกจุดที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ที่กำลังซ่อมบำรุง เช่น ที่หน้าแผง Starter และที่แผงควบคุมระยะไกล Remote Control Panel ให้ทราบว่า กำลังมีการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ใดอยู่ ห้ามเปิดใช้งานเด็ดขาด เพื่อป้องกันอันตรายไว้อีกชั้นหนึ่ง

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *