การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับห้อง Built-Up AHU

ในโครงการปกติ การติดตั้ง AHU. ในห้องเครื่อง คือ การยกเครื่อง AHU. มาวางในห้อง และต่อท่อน้ำเย็นและท่อลม รวมทั้งต่อสายไฟฟ้าเข้าที่ตัวเครื่อง ก็สามารถส่งลมเย็นออกมาได้ แต่ในบางโครงการ ถูกออกแบบให้มีความต้องการปริมาณลมมาก การนำเครื่อง AHU. มาตรฐานหลายๆตัวมาวางเรียง ก็สามารถทำได้ ซึ่งบางครั้งผู้ออกแบบกำหนดให้เป็น AHU. แบบสร้างที่จุดทำงาน (Built-Up) ซึ่งก็คือการประกอบ Coil น้ำเย็น, พัดลม และอุปกรณ์ควบคุมต่างๆเข้าด้วยกัน ที่สถานที่ก่อสร้างนั้น และประกอบผนัง Cold Room เข้าไปให่เรียบร้อย ก็เสมือนหนึ่งเป็นเครื่อง AHU. ขนาดใหญ่ๆ
สิ่งที่ตามมาก็คือ มีความจำเป็นต้องเดินเข้าไป Service และ Maintenance อุปกรณ์ต่างๆในห้อง AHU. ได้ ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นในการพิจารณาเลือกใช้ อุปกรณ์ไฟฟ้า ชนิดพิเศษ เพื่อติดตั้งในห้อง AHU. แบบ Built-Up นี้ ซึ่งจะประกอบไปด้วย

1. ควรมีดวงโคมไฟฟ้า ส่องสว่างภายในห้อง และควรเป็นแบบที่ใช้กับห้องเย็นโดยเฉพาะหรืออาจจะเป็นแบบ Weather Proof ก็ได้ ไม่ควรจะใช้โคมธรรมดา เนื่องจากภายในห้องมีความชื้นสูง และมีสวิทซ์แบบ Weather Proof ไว้ด้านใน เน้นย้ำว่า ต้องมีตำแหน่งอยู่ในห้อง เพราะหากกำลัง Service และมีใครบางคนมาปิดสวิทซ์ไฟ หากมีตำแหน่งอยู่นอกห้องช่างที่กำลัง Service จะหาทางออกลำบาก
2. ควรจัดให้มีเต้ารับไฟฟ้าแบบ Weather Proof ไว้ด้วยภายในตัวห้อง
3. สายไฟที่ใช้สำหรับ ดวงโคม, สวิทซ์, เต้ารับ รวมไปถึงสาย Power สำหรับพัดลมและ สายไฟฟ้าของวงจรควบคุมต่างๆ ควรเป็นสาย NYY. เดินลอยเกาะที่ผนัง Cold Room ไม่ควรใช้สายไฟแบบ THW ร้อยในท่อ Conduit เพราะเคยเกิดปัญหา Condensate ภายใน Conduit ทำให้มีน้ำหยดลงที่อุปกรณ์ควบคุมและ แผงไฟมาแล้ว
4. ในบางโครงการนั้น จะระบุให้มี Electronic Air Cleaner ติดตั้งในห้อง AHU. ซึ่งตัว Electronic Air Cleaner นี้ จะใช้ไฟฟ้าแรงสูงในการทำงาน ควรมีการติดตั้งระบบ Interlock. กับบานประตู และ สวิทซ์ควบคุม คือ หากมีใครเปิดประตูห้องเข้าไป ควรตัดวงจรการทำงานของตัว Electronic Air Cleaner ออกทันที
ได้







Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *