การเลือกใช้หางปลา เพื่อให้ไม่เกิดปัญหา

หางปลา คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับจับเส้นทองแดงในสายไฟฟ้า และต่อทาบกับอุปกรณ์ที่จ่ายไฟหรือรับไฟ เช่น Busbar. ขั้วของ CB. หรือ Magnetic Contractor ฯลฯ
ปัญหาที่มักพบบ่อยคือ สายไฟฟ้า ร้อนและไหม้ ส่วน CB. ก็ร้อนเกินไป สาเหตุเหล่านี้เกิดจากความมักง่าย ของช่างติดตั้ง และการสั่งหางปลา ผิดประเภท ผิดขนาดมาใช้งาน ฉะนั้น ควรพิจารณาการเลือกใช้หางปลา ซึ่งได้แก่
1. ตัวหางปลาจะมีช่องที่ใช้สายทองแดง ร้อยเข้าไป ควรสั่งให้พอดีกับขนาด Outside Diameter ของสายทองแดง หากหางปลามีขนาดใหญ่เกินไป เมื่อบีบหางปลา หน้าสัมผัสของสายไฟฟ้าก็จะไม่พอ แต่ถ้าหางปลามีขนาดเล็กเกินไป ก็จะสอดไม่เข้าและช่างก็มักจะต้ดเส้นทองแดงออกบางส่วน เพื่อให้สอดเข้าได้ ซึ่งจะทำให้ขนาดของสายไฟฟ้า ไม่พอกับการับกระแสไฟฟ้า
2. ระยะที่สอดทองแดงเข้าไปในปลอกที่รับสายไฟฟ้า ต้องสวมสายไฟฟ้าให้พอดี ไม่สั้นหรือยาวเกินไป
3. สำหรับรูของหางปลา ที่ใช้ร้อยน๊อตต้องตรวจสอบกับน๊อตที่มีมากับจุดรับ-จ่ายไฟ ควรสั่งให้พอดีกับน๊อตที่มีมากับอุปกรณ์ บางครั้งเล็กเกินไป น๊อตร้อยเข้าไม่ได้ ช่างก็จะเสียบไว้กับแหวนอีแปะข้างๆน๊อต โดยไม่ได้ร้อยสอดกับตัวน๊อต (มักพบกับสาย Control ที่ Tap จาก CB. มาใช้ ) บางครั้งรูที่ใช้ร้อยน๊อตนั้นใหญ่เกินน๊อตมาก ก็ใส่แหวนอีแปะปิดบังไว้ ถึงแม้จะขันน๊อตแน่นแล้ว แต่หน้าสัมผัสก็ไม่พอ
4. หน้าสัมผัสของหางปลา ต้องสัมผัสและทาบกับ Busbar หรือ Terminal ที่มารับได้อย่างเต็มที่ ไม่ควรเล็กกว่า เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้เต็มที่

ฉะนั้น การเลือกใช้หางปลาที่เหมาะสมและติดตั้งให้ดี จะช่วยให้การใช้ไฟฟ้าในโครงการปลอดภัย ไม่เกิดอันตราย และทางที่ดีควรตรวจและขันน๊อตยึดให้แน่นด้วยประแจปอนด์ ดีกว่าประแจธรรมดาที่ใช้ความแข็งแรงของคน

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *