การกำหนดความสว่างและตำแหน่งดวงโคมในห้องเครื่อง

ห้องเครื่องที่จะกล่าวถึง คือห้องเครื่องทุกชนิดในโครงการ เช่น ห้องไฟฟ้าหลัก, ห้องเครื่องสูบน้ำ, ห้องเครื่องทำน้ำเย็น, ห้องบ่อบำบัดน้ำเสีย, ห้องไฟฟ้าประจำชั้น, ห้องเครื่อง AHU ฯลฯ ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมามักเกิดความรู้สึกว่า ทำไมถึงออกแบบให้มีความสว่างน้อยเกินไป ตำแหน่งที่ติดตั้งไม่ถูกต้อง เวลา Service หรือ Maintenance บางครั้งต้องต่อไฟแสงสว่างเพิ่ม ทำไมจึงเป็นเช่นนี้

เพราะว่าหลายโครงการ ห้องเครื่องถูกจำกัดเรื่องการสะท้อนแสงของผนัง พื้น เพดาน ไม่ดี คือไม่ทาสี เพราะคิดว่าเป็นการสิ้นเปลือง พื้นเป็นปูนเปลือยธรรมดา เพดานก็เป็นปูนเปลือย และยังมีท่อน้ำ ท่อลม, ท่อไฟ, รางไฟฟ้า ติดตั้งในฝ้าเพดานเต็มไปหมด ทำให้ความสว่างที่ออกมาจากโคมไฟลดลงมา ยังพื้นที่ที่ต้องการไม่เต็มที่ ฉะนั้นจึงควรออกแบบระบบแสงสว่างให้มากกว่าปกติสัก 1 เท่า คงไม่สิ้นเปลืองมากนัก และควรแยกสวิทซ์ไว้ด้วย สำหรับเปิดในเวลาปกติ หรือเปิดเพื่อการ Service

ตำแหน่งที่ติดตั้งโคมไฟฟ้าก็สำคัญ บางครั้ง ท่อน้ำ, ท่อลม, ท่อไฟ, รางไฟฟ้า บังแสงที่ออกมา จากโคมไฟหมด เวลาเปลี่ยนหลอดไฟ ก็ต้องปีนขึ้นไปบนท่อต่างๆ ฉะนั้นการเลือกวางตำแหน่งโคมไฟฟ้า ในห้องเครื่องไม่ควรจะติดตั้งก่อนที่งานระบบอื่นๆจะเสร็จ ปล่อยให้งานระบบอื่นๆ ติดตั้งงานท่อของระบบต่างๆให้เสร็จ วางเครื่องจักร, ตู้ไฟฟ้าต่างๆให้เรียบร้อย และค่อยมาเดินท่อของสายไฟของระบบแสงสว่างในภายหลัง โดยเน้นกำหนดตำแหน่งตามความต้องการ ในสิ่งที่จะ Service ไม่จำเป็นต้องให้ตรงกันทุกโคมเป็นแถวหรือแนวเดียวกัน สำหรับตู้ไฟฟ้าให้มีแสงสว่างติดตั้งที่ผนังด้านหลังตู้ไว้ด้วย เพราะเวลาเปิดฝาด้านหลังตู้ จะได้มองเห็นอุปกรณ์ต่างๆชัดเจน

Leave a comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *